เกษตรไทยอัจฉริยะ 4.0 ตอนเทคโนโลยี IoTs ควบคุมการจ่ายน้ำ,ปุ๋ยอัตโนมัติ ตอนที่ 1

SK. Smart Farm & Garden…สวัสดีคับ…วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีการจ่ายน้ำ และปุ๋ยให้กับผลผลิตทางการเกษตร

ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่

 ✓ สปริงเกอร์

 ✓ มินิสปริงเกอร์

 ✓ ไฮโดรพอนิกส์

 ✓ น้ำหยด

 ✓ ไมโครสเปรย์

ซึ่งทุกรูปแบบเป็นการควบคุมโดยใช้แรงงานคนในการบริหารจัดการ คอยเปิด-ปิดวาล์วน้ำ/ประตูน้ำ, เปิด-ปิดปั๊มน้ำ, ชั่งตวงวัดผสมปุ๋ยให้ได้อัตราส่วนตามที่ตนต้องการ แต่จะดีมั้ยถ้าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีแทนแรงงานคน หลายๆ คนอาจสงสัยว่าแล้วเทคโนโลยีนี้มันมาแทนแรงงานคนได้อย่างไร ? ตรงไหน ? ประสิทธิภาพจะดีเท่าคนมั้ย ? แพงมั้ย ? ลงทุนแล้วจะคุ้มหรอ ? คำถามเหล่านี้ SK. Smart Farm & Garden มีคำตอบให้ทุกๆ คนคับ…ไม่ให้เสียเวลา…งั้นเราไปหาคำตอบกันเลยดีกว่าคับ

ยกตัวอย่าง…การจ่ายน้ำให้กับผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะปลูกลงดิน,ปลูกในรอง,กระถาง หรือปลูกในถุงพลาสติกก็ตาม เช่น มันสำปะหลัง, กระชาย, สตรอเบอรี่, หม่อน, มะเดื่อ, มะเขือเทศ, เมล่อน และพืชอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล ล้วนแล้วแต่ต้องการน้ำมาเป็นปัจจัยหนึ่งในการเจริญเติบโต จากรูปข้างบนเป็นการจำลองการจ่ายน้ำซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะทำกันแบบนี้ เมื่อต้องการจ่ายน้ำก็เพียงแค่ซับเบรคเกอร์/คัตเอ้าต์ขึ้น เพื่อจ่ายไฟให้กับปั๊ม ปั๊มน้ำผ่านท่อรูปแบบต่างๆ ไปยังผลผลิต ซึ่งพืชผลทางการเกษตรแต่ละชนิดต้องการน้ำในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น กระชาย :herb: จ่ายน้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ 20-30 นาที 2 ครั้ง/วัน นั่นก็หมายความว่าใน 1 วันเกษตรกรต้องคอยเปิด-ปิดปั๊มน้ำ ทั้งหมด 2 ครั้งๆ ละ 30 นาที สมมติว่าปลูกในปริมาณที่มาก 5, 10, 20….,100+ ไร่ล่ะ…ปั๊มน้ำก็ต้องมีมากกว่า 1 ตัวแน่นอน สรุปวันนึงเกษตรกรก็ต้องเปิด-ปิดปั๊มน้ำ 2 ครั้งๆ ละหลายๆ ตัว ยิ่งไปกว่านั้นเกษตรกรบางรายอาจมีแปลงปลูกอยู่คนละที่ยิ่งต้องเสียเวลาเดินทางไป-กลับเพื่อเปิด-ปิดปั๊มน้ำ และทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

หรือ…เมล่อน :melon: ที่ต้องการน้ำ 1-3 ลิตร/ต้น/ช่วงการเจริญเติบโต/วัน เป็นต้น ดังนั้นใน 1 วันต้องจ่ายระบบน้ำหยดประมาณหลายๆ ครั้งๆ ละหลายๆ นาทีให้กับต้นเมล่อน นั่นก็หมายความว่าใน 1 วันเกษตรกรต้องคอยเปิด-ปิดปั๊มน้ำ / วาล์วหรือประตูปิด-เปิดน้ำทั้งหมดหลายๆ ครั้งๆ ละหลายๆ นาที. แล้วถ้าปลูกในปริมาณที่มาก 5, 10, 20….,100+ ไร่ล่ะ…ปั๊มน้ำ / วาล์วหรือประตูปิด-เปิดน้ำก็ต้องมีมากกว่า 1 ตัวแน่นอน สรุปวันนึงเกษตรกรก็ต้องเปิด-ปิดปั๊มน้ำ 4 ครั้งๆ ละหลายๆ ตัวๆ นึงก็หลายนาที ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละวันเกษตรกรต้องอยู่เฝ้าที่ฟาร์มที่ไร่ตลอดเวลา ไม่สามารถไปไหน หรือทำอย่างอื่นได้เลย หรืออาจจ้างคนงานสำหรับปิด-เปิดปั๊ม / วาล์วหรือประตูปิด-เปิดน้ำ ทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

2 Likes