โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเต้ (Johann Wolfgang von Goethe)

โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเต้ เขาเป็นทั้งนักเขียน นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาชาวเยอรมัน เกิดที่กรุงแฟรงเฟิร์ต สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจักวรรดิโรมันอยู่ เด็กชายเกอเต้ ได้เข้ารับการศึกษา วิชาสามัญและภาษาหลากหลายภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ละติน และกรีก นิสัยส่วนตัวเขาไม่ชอบการเข้าโบสถ์เอาซะเลย

เมื่อเรียนมาช่วงหนึ่ง เขาเบียงเบนความสนใจไปทางด้าน จิตกรรม แลัวรรณกรรม มากเกินไปทำให้ การเรียนตกถูกพักการเรียนไปช่วง หนึ่ง แล้วจึงกลับมาเรียนต่ออีกครั้งที่เมือง สตราเบิร์ก จบการศึกษามา ก็ดำเนินอาชีพ ค่าความ เป็นทนายความที่บ้านเกิด

ยาวว่างจากทำงานด้านกฎหมาย เข้ามักใช้เวลากับการเขียนหนังสือ เริ่มจากบันทึกเรื่องราวการท่องเที่ยวของเขาเอง และในที่สุด เขาก็ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นสำคัญคือ นิยายเรื่อง “Magnum opus”, นิยายเชิงอัตชีวประวัติเรื่อง "The Sorrow of Young Werther” บทละครเชิงปรัชญาเรื่อง "Faust”

เขาเสมือนสัญลักษณ์ของวรรณคดีเยอรมัน วรรณคดีคลาสสิกใหม่ ของยุโรปและโรมัน ระหว่างปลายศตวรรษที่ 18 ที่การศึกษาทางด้าน ปรัญญา กำลังเฟื่องฟู

Eng

What is not started today is never finished tomorrow

Thai

ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสําเร็จในวันพรุ่ง

ก็ถูกครับ ทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีที่มาที่ไป เพียงแค่มีคนมาขมวด ออกมาเป็นคำพูดเท่านั้น เหมือนงานเกี่ยวกับพวก IOT ผมใช้หลักนี้ครับ ได้ผลมากน้อยต่างกัน แต่มันได้ผล แล้วแต่เราจะอ่อนในข้อไหน แนะนำสมาชิกลองใช้ดูครับ

วิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน " เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"
เชื่อมั๊ยครับ ผมแทบไม่ได้อ่านรายละเอียดเลย แค่ผม อ่านประโยคนี้ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ผมก็เข้าใจเลยว่า งานทุกๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับเรา หรือที่เราสนใจ ต้องใช้แบบทั้งสิ้น
จุดเริ่มต้นของงานแต่ละอย่าง คือ เราต้องเข้าใจมันก่อน เช่น

  1. “เข้าใจ” เราอยากทำ อุปกรณ์ IOT สักอย่าง เราต้องศึกษาด้วยตัวเอง ค้นคว้าหาข้อมูล แล้วนำมาประมวลผลในระดับหนึ่งก่อน
  2. “เข้าถึง” คือการนำอุปกรณ์มาต่อตามแบบ แล้วทำการทดสอบ แล้วตั้งคำถามกับมัน ถ้าติดตรงไหน นั่นแหละครับแสดงว่าเราไม่เข้าใจมันดีพอ ก็ต้องย้อนกลับไปข้อ 1 คือ “เข้าใจ”

ข้อ1. และข้อ 2. ทำวน ๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่า จะมีคำถามน้อยที่สุด แค่นี้เราก็จะได้ ทั้งความรู้ และทักษะ ที่เพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ

  1. เมื่อหลุดจากข้อ1 และ 2 แล้ว ก็ “พัฒนา” นั่นหมายถึงเป็นการประยุกต์งาน ของเราไปสู่ แขนงต่างๆ ที่กว้างขึ้น โดย สิ่งที่แตกต่างจากแขนงเดิม ต้อง ไปที่ข้อที่ 1 และ 2 ใหม่ เสมอแต่ใช้เวลาในการเรียนรู้ แตกต่างกัน