สาเหตุอีก 1 ประการที่ทำให้ Node MCU ESP8266 หลุดบ่อยๆ

เป็นแค่แนวคิดนะครับ แสดงความคิดเห็นกันตามสะดวกเลยครับ

บทความนี้ เราจะมาทดสอบ Node MCU ESP 8266 กันครับ ว่า ที่เราสั่งซื้อมา 2 ตัวบ้าง 6 ตัว บ้าง WiFi Module แต่ละตัวมันใช้ได้หรือไม่ หรือมีปัญหา เพราะถ้ามีปัญหาที่ตรงนี้ กว่าจะเจอก็หากันจนปวดหัวเหมือนกัน เพราะ มันจะออกอาการว่า เด๊๋ยวใช้ได้ เดี๋ยวหลุด และไอ้ที่หลุดคือ IP หลุด โดยถ้าตรวจสอบ มันจะได้ค่า 0.0.0.0 ต่อให้เขียน code ว่าถ้าเกิด อาการนี้ขึ้นมา อีก 20 วินาทีให้มัน Reset ใหม่ อาการนี้ก็หายบ้างไม่หายบ้าง สร้างความปวดหัวให้เป็นอย่างยิ่ง สำหรับใครที่ ลงงานจริง ควรต้องเชคก่อนนะครับ จะได้มั่นใจ และตรวจตรวจย้อนกลับไปยังปัญหาทีละจุดๆ ได้ อย่างเป็นระบบ ดังนั้นผมจึงจะนำวิธีการทดสอบ WiFi Module มาฝากกันครับ ซึ่งเป็นวิธีการในแบบของผมนะครับ
โดยทำดังนี้

  1. สร้างชุดทดสอบ Node MCU ESP8266 มา 1 ชุด หรือซื้อเอาก็ได้ครับ แต่ต้อง ใส่ Push Button Switch สำหรับ Reset Node MCU 1 ตัว และสำหรับ ตั้งค่า AP Config 1 ตัว

ภาพ

ไดอะแกรมการต่อ

ภาพ

จากนั้น นำ Node MCU ESP8266 ที่ซื้อมา มาทำการทดสอบครับ โดย

  • code ทดสอบ ผมจะใช้ code ที่มี WiFi Manager นะครับ เราจะได้เห็นกันไปเลยว่า Wi Fi Module สามารถ เห็น Wifi ได้กี่ตัว มากหรือน้อย หรือ ไม่ได้เลย ***ซึ่งจุดนี้แหละครับ จะเป็นตัวบอกว่า Wi Fi Module ของ Node MCU ESP8266 ของเราใช้งานได้ดี หรือไม่ดี
  • ข้อสำคัญ ระยะห่างจากจุดที่วัด กับ Modem router ต้องคงที่เอาไว้นะครับ อย่าย้ายไปย้ายมา

เริ่มกันเลยครับ

  1. เชค Wifi ของมือถือของเรา ที่จุดทดสอบ Node MCU ESP8266 ว่ารับ สัญญาณ WiFi ได้ กี่ตัว เอามาเป็นเกณฑ์
    จากภาพรับได้ 7 สัญญาณ

ภาพ

ใช้ Node MCU ESP8266 3 ตัว ทดสอบ

ภาพ

ทดสอบตัวที่ 1

Uplod code ทดสอบลงไป เมื่อ Node MCU ESP8266 เริ่มทำงาน ภายใน 5 วินาที กดปุ่ม AP config

ภาพ

คลิกเลือก WiFi ที่เราตั้งชื้อเอาไว้ แล้ว Connect เพื่อเข้าหน้า Web Portal ของ Wifi Manager

ภาพ

ภาพ

จากภาพเราจะเห็นว่า Node MCU ESP8266 ตัวที่ 1 นี้ สามารถรับได้ 7 สัญญาณ ซึ่งก็ตรงกับภาพการรับสัญญาณ WiFi จากมือถือของเรา

ภาพ

สรุบว่า Node MCU ESP8266 ตัวที่ 1 ผ่านครับ

ทดสอบตัวที่ 2 ให้ทำลักษณะเดียวกันกับตัวที่ 1

6

ภาพ

จากภาพเราจะเห็นว่า Node MCU ESP8266 ตัวที่ 2 นี้ สามารถรับได้ 6 สัญญาณ ซึ่งก็ใกล้เคียง กับภาพการรับสัญญาณ WiFi จากมือถือของเรา

สรุบว่า Node MCU ESP8266 ตัวที่ 2 ผ่านครับ

ทดสอบตัวที่ 3 ให้ทำลักษณะเดียวกันกับตัวที่ 1

9

จากภาพเราจะเห็นว่า Node MCU ESP8266 ตัวที่ 3 นี้ สามารถรับได้ 4 สัญญาณ (ทดสอบมา 3 รอบแล้ว)

ดังนันจึงพอสรุปได้ว่า

Node MCU ESP8266 ตัวที่ 1 ใช้งานได้ดี (ก่อนใช้งานจริงต้องทดสอบก่อนสักระยะจนเป็นที่แน่ใจ)
Node MCU ESP8266 ตัวที่ 2 ใช้งานได้ปานกลาง-ดี (ก่อนใช้งานจริงต้องทดสอบก่อนสักระยะจนเป็นที่แน่ใจ)
อาจมีปัญหาบ้างหรือไม่มีปัญหาเลย ประมาณว่านานๆ ครั้ง
Node MCU ESP8266 ตัวที่ 3 ใช้งานได้ไม่ดี อาจมีปัญหาสัญญาณหลุดบ่อย เนื่องจากประสิทธิ์ภาพของ WiFi Module

ดังนั้นการซื้อ Node MCU ESP8266 มาใช้งานก็ควรจะต้องมีการทดสอบกันก่อนนะครับ บางทีปัญหาที่เราคาดไม่ถึงอาจจะอยู่ตรงจุดนี้ ตัวที่เราทดสอบสอบแล้วที่คิดว่าดี พอทำงานไปสักระยะเริ่มแสดงอาการ ก็ต้องรอบคอบกันสักหน่อยครับ บางทีร้านที่เราสั่งซื้อมา ทั้ง lot ส่วนใหญ่มีปัญญานี้ มันก็กระทบกับผู้ซื้อที่นำไปใช้งานต่อ :relaxed:

2 Likes

WiFimanager + ESP8266 ไม่สามารถเชื่อมต่อไวไฟได้

ESP32 ใช้ powerbank แล้ว offline

NodeMCU ESP8266 V3 Scan network เจอบ้างไม่เจอบ้าง ทั้งๆที่ สัญญาณแรง

misterok_confirm (Misterok Confirm) January 3, 2021, 12:13pm #2

:smile: :smile:

Remy_Martin (Permpol Thanapunnamas) January 4, 2021, 5:29am #3

ขอบคุณมากครับ ผมก็มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน แต่ผมใช้แบบ Multi WiFi กับ Single WiFi ตอนทดสอบ ก่อนส่งให้ลูกค้าก็ใช้งานได้ปกติ (เน็ต Fiber) พอไปส่งให้ลูกค้า (net sim) ปรากฎว่าเชื่อมได้ครั้งแรก ผ่านไปอีกวัน คือเชื่อมไม่ได้ เอากลับมาเชื่อมเน็ตเราเองก็ไม่ได้อีกซะงั้น ลองเปลี่ยนบอร์ดใหม่โค้ตเดิม เชื่อมได้ปกติ ผมจะมี 2 ปัญหาปนกัยอยู่คือ มันเชื่อม WiFi ไม่ได้ หรือ เชื่อม Blynk server ไม่ได้ ผมแก้ปัญหานี้โดยการเปลี่ยน Library จาก Single WiFi เป็น Multi WiFi แทน ทีนี้ไม่มีปัญหาอีก ส่วนตัวผมคิดว่า library ก็เป็นอีก 1 ปัจจัยด้วยครับ

PUYIOT January 4, 2021, 8:11am #4

ครับ ของผมแก้ปัญหา โดยการให้ส่ง Line ส่วนตัวของผม เพื่อตรวจสอบความผิดปกติครับ เช่น ถ้าเิกดการ รีเซต ตัวเอง แล้วเชื่อมต่อได้ก็ ส่งไลน์มาว่า ระบบ xxx เริ่มทำงาน แสดงว่า มันเชื่อมต่อ Internet ได้ จึงสามารถส่ง line มาได้ อีกส่วนหนึ่งคือ Blynk เชื่อมต่อได้ กับ เชื่อมต่อไม่ได้ ถ้าBlynk เชื่อมต่อได้ ก็ให้ส่ง line มา แต่ถ้า เชื่อมต่อไม่ได้ ก็ให้ส่ง line มา ก็วิเคาระห์ได้ว่า ระบบเชื่อมต่อ internet ได้ แต่เชื่อมต่อ Blynk ไม่ได้ ทีนี้ก็ดูอาการและวิเคราะห์ต่อครับ ส่วน Library ที่ผมใช้อยู่คือ WiFimanager สังเกตุว่าถ้า เขียนโค้ด ให้มันทำงานหลายๆ อย่าง โอกาส wifi หลุด ก็มีบ่อยครับ ที่เห็นเป็นแบบนี้เพราะ ผมเคยทำ 1 ตู้ มี Esp8266 2 ตัว อีกตัวทำงาน ok นานๆ จะหลุด แต่อีกตัวหลุดบ่อยครับ

1 Like

Remy_Martin (Permpol Thanapunnamas) January 4, 2021, 8:56am #5

เยี่ยมครับพี่ ของผมใช้วิธีเก็บฐานข้อมูล ดู เวลาการรันต่อเนื่อง จำนวนการรีเซต ต่อรอบ รวมถึงค่า ping ครับ แยกออกมาจากส่วนที่เก็บ บันทึก การ on off ระบบ

image

แต่ยังไม่ว่างไปมอนิเตอร์สักเท่าไหร่ เว้นแต่ว่าลูกค้ามีปัญหาก็จะนำข้อมูลที่มีมาประกอบครับ

PUYIOT January 4, 2021, 9:16am #6

นี่แหละครับ ที่ผมอยากจะทำ อิ…อิ มีตัวอย่างแล้ว

Remy_Martin (Permpol Thanapunnamas) January 4, 2021, 9:50am #7

แนวทางครับพี่

Random Nerd Tutorials – 7 Jun 19

ESP32/ESP8266 Insert Data into MySQL Database | Random Nerd Tutorials

In this project you’ll build an ESP32 or ESP8266 client that makes an HTTP POST request to a PHP script to insert data (sensor readings) into a MySQL database.

บวกกับ server free ที่ผมเคยให้พี่ไปก็ใช้ได้ละครับ